งานวิจัย ก่อนจะมาเป็น Nike Vaporfly 4%

Related Articles

Nike Vaporfly 4% ทำให้นักวิ่งวิ่งได้ไวขึ้นจริงไหม และ 4% หมายถึงอะไร

nike-vaporfly-4-percent

วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูงานวิจัยที่น่าสนใจตัวหนึ่ง นั่นคือ งานวิจัยเปรียบเทียบ การใช้พลังงานในการวิ่งในรองเท้าวิ่งมาราธอนแต่ละรุ่น (A Comparison of the Energetic Cost of Running in Marathon Racing Shoes) จาก University of Colorado Boulder (CU Boulder) โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากทาง Nike โดยผลการทดลองได้พบว่า เมื่อเทียบกับรองเท้าวิ่งมาราธอนยี่ห้ออื่น, รองเท้าวิ่ง Vaporfly ตัวต้นแบบ สามารถประหยัดพลังงานในการวิ่งหรือประหยัดแรงโดยเฉลี่ยแล้วได้ถึง 4% ดังนั้นจึงเป็นที่มาของชื่อรองเท้าวิ่งรุ่นต่อมาอย่าง Nike Vaporfly 4%

nike-vaporfly-4-percent

ส่วนรายละเอียดในการทดลองนั่น ทางนักวิจัยได้ใช้รองเท้า 3 รุ่นมาใช้ในการทดสอบแต่ละรุ่นจะใช้ไซต์เดียวกันคือ US10 โดยตัวแรกคือ Nike Zoom Streak 6 มีน้ำหนัก 203 กรัม, ตัวที่สองคือ Adidas Adios Boost 2 ซึ่งตัวนี้เคยทำลายสถิติ Berlin Marathon ในปี 2014 โดย Dennis Kimetto ใช้เวลาไปเพียง 2.02.57 ชั่วโมง มีน้ำหนัก 250 กรัม, ส่วนตัวสุดท้ายจะเป็น Nike ตัวต้นแบบที่มีแผ่นคาร์บอนและใช้พื้นโฟม ZoomX (เป็นวัสดุ Pebax นั่นเอง) มีน้ำหนักเพียง 199 กรัม

nike-vaporfly-4-percent

โดยทั้ง 3 รุ่นจะมีน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน จึงอาจทำให้เกิดความคาดเคลื่อนได้เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 100 กรัม หมายถึงการใช้พลังที่เพิ่มขึ้นถึง 1%  ดังนั้นนักวิจัยจึงเพิ่มเม็ดตะกั่วเข้าไปในลิ้นรองเท้า ทำให้ทุกคู่มีน้ำหนักที่เท่ากันคือ 250 กรัม

ส่วนการทดสอบจะใช้นักวิ่งที่มีสถิติการวิ่ง 10 k ที่ทำเวลาต่ำกว่า 31 นาที จำนวน 18 คน โดยทั้ง 18 คนต้องใส่รองเท้าไซต์เดียวกันคือ US10 และวิ่งทดสอบใน 3 ย่านความเร็วคือ Pace 4.17, 3.45, และ 3.19

จากการทดสอบใน 3 ย่านความเร็วพบว่ารองเท้า Nike ตัวต้นแบบ ให้ประสิทธิภาพในการวิ่ง (Running Economy) ที่ดีกว่า Nike Zoom Streak 6 เพียงแค่ 1.59% แต่ดีกว่า Adidas Adios Boost 2 ถึง 6.26% ดังนั้น สรุปโดยเฉลี่ยแล้วรองเท้า Nike ตัวต้นแบบจะมีประสิทธิภาพในการวิ่งหรือประหยัดแรงกว่ารองเท้าวิ่งรุ่นอื่นถึง 4%

ทำให้นักวิจัยเกิดข้อสงสัยว่า ทำไม Nike ตัวต้นแบบถึงมีประสิทธิภาพในการวิ่งที่ดีกว่ารองเท้ารุ่นอื่นถึง 4% ในเมื่อน้ำหนักไม่มีผลแล้ว เนื่องจากการทำให้น้ำหนักรองเท้าเท่ากันโดยเม็ดตะกั่ว ฉะนั้น นักวิจัยจึงหันไปหาวัสดุที่ใช้ โดยส่วนประกอบสำคัญของ Nike ตัวต้นแบบ คือ วัสดุโฟม Pebax และ แผ่นคาร์บอน

นักวิจัยได้ทำการทดสอบ ค่า Energy Return จากรองเท้าทั้ง 3 รุ่น โดยเครื่อง Instron 8800 ได้ผลดังนี้

nike-vaporfly-4-percent

Nike Zoom Streak 6 มีค่า Energy Return เพียงแค่ 66 เปอร์เซ็น, ส่วน Adidas Adios Boost 2 มีค่า Energy Return 76 เปอร์เซ็น, และ Nike ตัวต้นแบบมีค่า Energy Return สูงถึง 87 เปอร์เซ็นเลยทีเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากโฟม Pebax นั่นเอง

nike-vaporfly-4-percent

รวมไปถึง Nike ตัวต้นแบบยังมีแผ่นคาร์บอนข้างใน ซึ่งยังไม่มีผลการทดลองที่แน่ชัดในการยืนยันว่าแผ่นคาร์บอนมีประโยชน์หรือช่วยในการวิ่งมากน้อยแค่ไหน แต่นักวิจัยให้ความคิดเห็นว่า โดยปกติร่างกายเราเวลาวิ่งจะมีการใช้เอ็นหรือกล้ามเนื้อเป็นเหมือนสปริง เกิดการยืดหดตลอดการวิ่ง ทำให้เกิดการกินพลังงาน แต่ในทางกลับ รองเท้าวิ่งที่มีแผ่นคาร์บอนแข็ง อาจจะช่วยทำให้ร่างกายลดการใช้กำลังของกล้ามเนื้อ (Muscular Force)

อย่างไรก็ตามการวิ่งในสนามจริงอาจจะมีปัจจัยอีกหลายอย่างเป็นตัวกระทบ เช่น ความชันของพื้นที่ หรือ สภาพอากาศ เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมไปถึง ข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยอย่างเป็นทางการว่า การใช้พลังงานในการวิ่งจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อวิ่งเป็นระยะเวลาเกิน 90 นาที เป็นผลมาจากการยืดตัวของเอ็นร้อยหวายในแต่ละก้าว จนอาจทำให้เกิด เอ็นร้อยหวายอักเสบได้

นี้คือใจความทั้งหมดของงานวิจัยชิ้นนี้ รองเท้า Nike Vaporfly 4% หรือ Next% อาจจะช่วยให้เราวิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จริง แต่ถ้าปราศจากการฝึกฝนและวินัย รองเท้าวิ่งที่ดีอาจไม่สามารถทำประโยชน์ได้เท่าที่มันควรจะเป็น ดังนั้นการฝึกซ้อมตามแผนอาจจะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จครับ

แอดมินหวังว่าบทความนี้เป็นจะเป็นประโยชน์สำหรับนักวิ่งหรือผู้ที่สนใจในการวิ่งหลาย ๆ ท่าน ถ้าหากท่านใดมีคำถามสามารถเข้าไปถามได้ในเพจ FB: Running Profiles ได้เลยครับ ฝากกดไลน์และติดตามเพจด้วยครับ ขอให้วิ่งให้สนุกครับ

ข้อมูลอ้างอิงจาก:

More on this topic

Popular stories

Training Plan