Brooks GuideRails เทคโนโลยีแก้เท้าล้มที่ดีที่สุดในโลก

Related Articles

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Brooks GuideRails เทคโนโลยีแก้เท้าล้ม (Overpronation) และยังเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดอาการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่าจากการวิ่งที่เป็นกระแสมาแรงในอุตสาหกรรมรองเท้าวิ่ง จนแบรนด์รองเท้าวิ่งค่ายใหญ่อย่าง Nike ต้องลอกเลียน รวมทั้งประวัติและที่มาของรองเท้าวิ่ง Stability จะเป็นอย่างไรเชิญติดตามได้เลยครับ

จุดเริ่มต้นรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบน

ก่อนจะเริ่มพูดถึง Brooks GuideRails เรามาทำความรู้จักประวัติศาสตร์รองเท้าวิ่งสำหรับคนเท้าแบน (Stability Running Shoes) กันสักนิด โดยเรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในปี 1977 Brooks ได้ออกรองเท้าคู่แรกของโลกที่ตระหนักถึงอาการเท้าล้ม (Overpronation) ในนักวิ่งเท้าแบน นั่นคือ Brooks Vantage ที่มีนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Varus Wedge” หรือโฟมรูปลิ่มที่เป็นการเสริมให้อุ้งเท้าด้านในอยู่สูงกว่าเท้าด้านนอก เพื่อให้เท้าเอียงเป็นธรรมชาติและป้องกันไม่ให้เท้าล้มเข้าด้านใน ซึ่งการออกรองเท้า Brooks Vantage ในครั้งนั้น เป็นการจุดกระแสรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบนทั่วโลก

Brooks Vantage รองเท้าคู่แรกของโลกที่ตระหนักอาการเท้าล้ม (Overpronation) ในนักวิ่งเท้าแบน โดยมีการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Varus Wedge” หรือโฟมรูปลิ่มที่เป็นการเสริมให้อุ้งเท้าด้านในอยู่สูงกว่าเท้าด้านนอกมาใช้

1982 – 2003 ยุคทองของรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบน

หลังจากความสำเร็จอันล้นหลามของ Brooks Vantage ทำให้แบรนด์ใหญ่อื่น ๆ เริ่มเข้ามาให้ความสนใจและต้องการที่จะทำตลาดรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบนอย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือแบรนด์ Asics โดยในปี 1982 Asics ได้ทำการวางจำหน่ายรองเท้าวิ่งรุ่น Asics Tiger X-Caliber GT ที่มาพร้อมกับ “Stabilizing Pillar” หรือเสาค้ำยันพลาสติกบริเวณอุ้งเท้าด้านในรุ่นแรกของโลก ซึ่งต่อมาจะถูกพัฒนาต่อยอดจนเป็น Asics Gel-Kayano Trainer ในปี 1993

Asics Tiger X-Caliber GT ที่มาพร้อมกับ “Stabilizing Pillar” หรือเสาค้ำยันพลาสติกบริเวณอุ้งเท้าด้านในรุ่นแรกของโลก

นอกจากนี้ในปี 1982 Brooks ยังได้ออกรองเท้าวิ่งที่มาสานต่อความสำเร็จของรุ่น Vantage อย่าง Brooks Chariot ที่ครั้งนี้พัฒนาไปเป็นโฟมแข็งรูปลิ่มที่ขึ้นรูปไปพร้อมกับพื้นชั้นกลางของรองเท้า ที่จะบังคับให้เท้าด้านในอยู่สูงกว่าเท้าด้านนอก ซึ่งต่อมารองเท้ารุ่นนี้จะถูกพัฒนาต่อยอดไปในชื่อ Brooks Beast 1 ในปี 1993 เช่นกัน

Brooks Chariot รองเท้าวิ่งที่มาสานต่อความสำเร็จของ Brooks Vantage

รองเท้าอีกหนึ่งรุ่นที่ได้รับอิทธิพลของรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบนที่จะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ นั่นก็คือ Adidas Micropacer และ Adidas Rising Star ซึ่งผลิตออกมาครั้งแรกในปี 1984 โดยในปัจจุบันเป็นต้นแบบรองเท้าแฟชั่นยอดนิยมอย่าง Adidas NMD R1 นั้นเอง

Adidas Micropacer รองเท้าที่ได้รับอิทธิพลของรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบน นอกจากนี้ยังเป็นรองเท้าคู่แรกของโลกที่มาพร้อมกับเซนเซอร์ขนาดเล็กในการเก็บสถิติระยะทาง ความเร็วและแคลอรี่
Adidas Rising Star รองเท้าอีกหนึ่งรุ่นที่ได้รับอิทธิพลของรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบน เป็นต้นแบบรองเท้าแฟชั่นยอดนิยมอย่าง Adidas NMD R1
โครงสร้างของ Adidas NMD R1 ที่มีการปรับเปลี่ยนลักษณะการแก้เท้าล้มแบบใหม่ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับแนวคิด GlideRails เป็นอย่างมาก ซึ่งเราจะอธิบาย GlideRails ในย่อหน้าถัด ๆ ไป

โดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีของรองเท้าของทั้ง Asics Tiger X-Caliber GT และ Brooks Chariot ต่างก็ถูกพัฒนาต่อจนกลายไปเป็น การเสริมอุ้งเท้า (Medial Post) และโฟมความหนาแน่นสองส่วน (Dual-density foam) ที่เราเห็นอยู่ในยุคปัจจุบัน

แนวคิดการแก้เท้าล้มแบบใหม่ ที่ไม่เพียงแต่แก้อาการเท้าล้ม

Brooks ผู้นำตลาดรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบน ได้เกิดความสงสัยจากงานวิจัยของตนเองว่า “แม้ว่ารองเท้าในปัจจุบันจะพัฒนาไปมาก แต่ทำไมนักวิ่งถึงยังมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และอาการบาดเจ็บส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณหัวเข่าถึง 50 เปอร์เซ็นต์”

ฉะนั้นทีมวิจัยของ Brooks จึงได้ทำการวิจัยหาสาเหตุของอาการบาดเจ็บ จนได้ข้อสรุป 3 ข้อดังนี้

1. ร่างกายของมนุษย์พยายามรักษาสมดุลให้หัวเข่ามีความมั่นคงมากที่สุด

ร่างกายของมนุษย์เราจะพยายามทำให้หัวเข่ามีความมั่นคงและอยู่เป็นเส้นตรง (Baseline) มากที่สุด เนื่องจากหัวเข่าของมนุษย์ไม่ได้มีกล้ามเนื้อมากมายมารองรับ ดังนั้นสะโพกและเท้าจะเป็นตัวช่วยปรับทำให้หัวเข่าอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงมากที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ใช่ร่างกายของนักวิ่งทุกคนสามารถทำให้หัวเข่าอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคง

2. นักวิ่งแต่ละคนมีการเคลื่อนไหวขณะวิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล

นักวิ่งทุกคนล้วนวิ่งในลักษณะท่าทางที่แตกต่างกัน เนื่องมาจากข้อต่อบริเวณหัวเข่าของมนุษย์แต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เป้าหมายทีมวิจัยของ Brooks ไม่ได้ต้องการทำให้ลักษณะการเคลื่อนไหวของคุณถูกต้องเหมือนกับนักวิ่งคนอื่น แต่พวกเขาต้องการให้คุณเคลื่อนไหวในแบบสรีระของคุณเอง และสิ่งนี้เองที่ทาง Brooks เรียกว่า Run Signature หรือการวิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละบุคคล

3. ร่างกายของมนุษย์จะต่อต้านปัจจัยที่ทำให้การเคลื่อนไหวผิดแปลกไป

เท้าของมนุษย์เรานั้นฉลาดกว่ารองเท้าที่คุณใส่ ซึ่งกระดูกเท้าทั้ง 26 ชิ้นจะเป็นตัวช่วยปรับให้หัวเข่าเคลื่อนไหวในแบบสรีระของคุณเอง

ดังนั้นข้อสรุปเหล่านี้จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดการผลิตรองเท้า ที่จากเดิมเริ่มต้นออกแบบจากเท้าแล้วค่อยพิจารณาถึงปัญหาที่หัวเข่า ให้เป็นการเริ่มต้นออกแบบด้วยแนวคิดที่ต้องการให้หัวเข่ามีความเสถียรและมั่นคงมากที่สุด นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี GuideRails

เทคโนโลยี GuideRails

GuideRails ประกอบด้วยชิ้นส่วน 2 ชิ้น ซึ่งวางอยู่บนพื้นกลาง (Midsole) โดยชิ้นแรกจะวางอยู่บริเวณอุ้งเท้าด้านใน ซึ่งทำหน้าที่ช่วยลดอาการเท้าล้มเข้าด้านใน และชิ้นที่สองจะวางอยู่บริเวณเท้าด้านนอก เพื่อทำหน้าที่จำกัดการขยับของกระดูกส้นเท้า (Calcaneus) ซึ่งจะส่งผลให้หัวเข่าหมุนซ้ายขวาน้อยลงนั้นเอง

GuideRails ชิ้นแรกจะวางอยู่บริเวณอุ้งเท้าด้านใน และชิ้นที่สองวางอยู่บริเวณด้านด้านนอก ซึ่งทั้งสองทำหน้าที่ช่วยลดอาการเท้าล้มเข้าด้านในและล้มออกด้านนอก
GuideRails ทั้งสองชิ้นทำงานร่วมกัน เพื่อจำกัดการขยับของกระดูกส้นเท้า (Calcaneus) ซึ่งจะส่งผลให้หัวเข่าหมุนซ้ายขวาน้อยลงนั้นเอง

สาเหตุที่ต้องจำกัดการขยับของกระดูกส้นเท้าก็เนื่องมาจาก การขยับไปมาของกระดูกส้นเท้าที่มากเกินไปขณะวิ่งจะส่งผลให้หัวเข่าเกิดการหมุนหรือบิดตัวมาก ซึ่งหากวิ่งเป็นระยะเวลานานอาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บที่หัวเข่าได้

ดังนั้น เทคโนโลยี GuideRails จึงทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้เท้ารักษาระดับความมั่นคงของหัวเข่าในแบบสรีระของคุณที่ควรจะเป็นได้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยี GuideRails เปิดตัวครั้งแรกในปี 2014 โดยรองเท้ารุ่นแรกที่มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้คือ Brooks Transcend รองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบนรุ่นแรกของโลกที่มีการละทิ้งการเสริมอุ้งเท้า (Medial Post) และโฟมความหนาแน่นสองส่วน (Dual-density foam) ซึ่งเป็นที่นิยมในรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งเท้าแบนทั่วไป

แนวคิดจากเทคโนโลยี GuideRails นี้เองที่ทาง Nike ถึงกับต้องลอกเลียนและออกมาเป็นรองเท้าวิ่งรุ่น Nike React Infinity Run Flyknit ในปลายปี 2019 ที่มาพร้อมกับ U Clip โดยถูกโฆษณาว่าสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บลงถึง 52 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ Nike Air Zoom Structure 22 ที่ใช้การเสริมอุ้งเท้า (Medial Post) และโฟมความหนาแน่นสองส่วน (Dual-density foam) แบบดั้งเดิม

Nike React Infinity Run Flyknit (ภาพล่าง) ที่มาพร้อมกับ U Clip โดยถูกโฆษณาว่าสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บลงถึง 52 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ Nike Air Zoom Structure 22 (ภาพบน) ที่ใช้การเสริมอุ้งเท้า (Medial Post) และโฟมความหนาแน่นสองส่วน (Dual-density foam) แบบดั้งเดิม

รองเท้าวิ่ง Brooks ที่มาพร้อมกับ เทคโนโลยี GuideRails ในปัจจุบันมีดังนี้

Brooks Adrenaline GTS 20

110307_436_l_WR
110307_436_a_WR
110307_436_h_WR
110307_436_m_WR
110307_436_o_WR
110307_436_s_WR
previous arrow
next arrow

Brooks Transcend 7

110331_632_l_WR
110331_632_a_WR
110331_632_h_WR
110331_632_m_WR
110331_632_o_WR
110331_632_s_WR
previous arrow
next arrow

Ravenna 11

110330_049_l_WR
110330_049_m_WR
110330_049_a_WR
110330_049_h_WR
110330_049_o_WR
110330_049_s_WR
previous arrow
next arrow

Bedlam 2

110308_479_l_WR
110308_479_m_WR
110308_479_a_WR
110308_479_h_WR
110308_479_o_WR
110308_479_s_WR
previous arrow
next arrow

Asteria

110229_615_l_WR
110229_615_m_WR
110229_615_a_WR
110229_615_h_WR
110229_615_o_WR
110229_615_s_WR
previous arrow
next arrow

แอดมินหวังว่าบทความนี้เป็นจะเป็นประโยชน์สำหรับนักวิ่งหรือผู้ที่สนใจในการวิ่งหลาย ๆ ท่าน ถ้าหากท่านใดมีคำถามหรืออยากจะแชร์ประสบการณ์ในการวิ่งสามารถเข้าไปคอมเม้นได้ในเพจ FB: Running Profiles ได้เลยครับ ฝากกดไลน์และติดตามเพจด้วยครับ ขอให้วิ่งให้สนุกครับ

ข้อมูลอ้างอิง:

More on this topic

Popular stories

Training Plan